ฝุ่นละอองอนุภาคเล็ก(PM2.5) กับอันตรายที่ไม่เล็ก

10354 จำนวนผู้เข้าชม  | 

 

รู้มั้ยคะว่าฝุ่นละอองที่ลอยในอากาศ ไม่ว่าจะเป็นฝุ่นที่เราเห็นหรือไม่เห็นนั้น มีชื่อแบบเป็นทางการว่า Particulate Matter (PM) มีหน่วยวัดเป็นไมครอน โดยอาจจะอยู่ในแบบของแข็งหรือของเหลวที่กระจายอยู่ในอากาศก็ได้ อย่างเช่น อนุภาคเชื้อโรคต่างๆ ฝุ่นละออง หมอก และควัน นั่นเองค่ะ

ถึงแม้ว่าร่างกายของเราจะมีระบบป้องกันตัวเองด้วยการดักจับฝุ่นละอองได้ แต่ก็ดักจับได้เฉพาะฝุ่นละอองขนาดใหญ่ๆเท่านั้น ทำให้สถาบัน Environmental Protection Agency ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ให้ความสนใจกับฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็ก PM 10 และ PM 2.5 มากเป็นพิเศษ เพราะว่าฝุ่นทั้ง 2 ประเภทนี้ จะสามารถแทรกซึมเข้าสู่ร่างกายของเราผ่านระบบทางเดินหายใจ เข้าสู่กระแสเลือดและเซลล์ต่างๆของร่างกายก่อให้เกิดโรคร้ายตามมาได้ เรามาทำความรู้จักกับฝุ่นทั้ง 2 ขนาดนี้กันดีกว่าค่ะ
 

PM 10

ฝุ่น PM 10 เป็นฝุ่นหยาบ มีขนาดอนุภาคอยู่ในช่วง 2.5-10 ไมครอน ที่มาของฝุ่นชนิดนี้ส่วนใหญ่จะมาจากถนนที่ไม่ได้ลาดยาง ฝุ่นจากการจราจร การขนส่ง และจากการบดหิน หรือย่อยหิน ผลกระทบของคนที่ได้รับฝุ่น หรือหมอกควัน PM 10 เป็นปริมาณมากๆ มักจะเกิดการระคายเคือง แสบตา แสบปากและลำคอ ส่วนโรคที่มีต้นกำเนิดมาจากฝุ่นประเภทนี้มีหลายโรคค่ะ ยกตัวอย่างเช่น โรคภูมิแพ้ หอบหืด ถุงลมโป่งพอง และโรคหัวใจ เป็นต้น



PM 2.5

ฝุ่นชนิดนี้จะเป็นฝุ่นละเอียดค่ะ มีอนุภาคเล็กกว่า 2.5 ไมครอน ที่มาของฝุ่นชนิดนี้คือการเผาไหม้เชื้อเพลิง อย่างเช่น ควันเสียรถยนต์ โรงงานอุตสาหกรรม โรงผลิตไฟฟ้า และจากการผลิตสารเคมี เป็นต้น โดยที่ฝุ่นนี้ที่สามารถเข้าไปจนถึงถุงลมในปอดได้เลยนะคะ ซึ่งอันตรายจากฝุ่นประเภทนี้ จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของปอดเสื่อม แย่ลง ถ้าเกิดสูดฝุ่น PM 2.5 เข้าไปมากๆ จะทำให้เราหายใจได้สั้น และทำให้หัวใจทำงานหนัก เพราะว่าปอดของเรานั้นแลกเปลี่ยนอากาศได้น้อยลง ฝุ่นขนาด PM 2.5 จึงมักจะเชื่อมโยงกับการเกิดโรคหัวใจและโรคปอดนั่นเองค่ะ

คนที่จะได้รับอันตรายจากฝุ่นละอองในอากาศมากกว่าคนทั่วไป ได้แก่ เด็ก, คนสูงวัย, ผู้ป่วยโรคปอด และ โรคหัวใจ แต่ว่าแม้ร่างกายเราจะแข็งแรงดีก็ตาม การได้รับสัมผัสฝุ่นละอองขนาดเล็กที่มีความเข้มข้นมากกว่า 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรอากาศ ในระยะเวลานาน ก็สามารถเป็นโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจได้เช่นกันนะคะ โดยอาจจะเป็นภูมิแพ้ ท่อลมฝอยอุดตัน หอบหืดเรื้อรัง ปอดอักเสบเรื้อรัง ไอเป็นเลือด โรคหลอดเลือดและหัวใจ แล้วยิ่งถ้าเราอาศัยอยู่ในเขตที่มีมลพิษทางอากาศสูงๆด้วยล่ะก็ ความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งปอด ก็จะมากขึ้นกว่าเดิมอีกล่ะค่ะ

จนถึงตอนนี้เรายังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัด ว่าเราสามารถสูดฝุ่นขนาด PM 10 และ PM 2.5 เข้าสู่ร่างกายได้มากแค่ไหนก่อนที่จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เพราะฉะนั้น เราจึงควรเลี่ยงความเสี่ยงจากโรคร้ายที่เกิดจากฝุ่นทั้ง 2 ขนาด ด้วยการอยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศสะอาด หรือสวมใส่หน้าป้องกันฝุ่นควันขนาดเล็ก เช่น หน้ากาก N95 หรือ หน้ากาก RespoKare Anti-Pollution Mask 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้