4 ก๊าซพิษแฝงตัวอยู่ในหมอกควัน

33780 จำนวนผู้เข้าชม  | 

 

4 ก๊าซพิษที่แฝงตัวอยู่ในหมอกควัน

การรายงานคุณภาพอากาศด้วยดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) นั้นจะต้องทำการวัดค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM10 PM2.5 และค่าก๊าซพิษ NO2 SO2 O3 และ CO


เพราะก๊าซพิษ 4 ชนิดนี้ เป็นก๊าซพิษหลักที่แฝงตัวอยู่ในหมอกควันเข้ามาทำร้ายสุขภาพร่างกายของเรา วันนี้มารู้จักแหล่งที่มา กลไกการก่อโรค และผลข้างเคียงกันนะคะ

 


1.ไนโตรเจนไดออกไซด์ (Nitrogen Dioxide,NO2)

  • ลักษณะทางกายภาพ
                   เป็นแก๊สสีน้ำตาลแดง มีกลิ่นเหม็นฉุน
    Nitrogen Dioxiade
  • คุณสมบัติก่อมะเร็ง
                   ACGIH Carcinogenicity: A4
                   IARC: N/A (ไม่ได้ทำการประเมิน)

  • ค่ามาตรฐานในสิ่งแวดล้อม
                   EPA NAAQS: 53 ppb (Annual), 100 ppb (1 hour)

  • แหล่งที่มา
                   เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงที่ภาวะอุณหภูมิสูง (1000 องศาเซลเซียส) และมีออกซิเจนเพียงพอ
                   โรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมีอุตสาหกรรมแยกหรือแปรรูปก๊าซธรรมชาติถลุงแร่ ปูนซีเมนต โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน เป็นต้น

  • กลไกการก่อโรค 
                   เมื่อหายใจนำไนโตรเจนไดออกไซด์เข้าสู่ร่างกายแล้ว จะทำปฏิกิริยากับน้ำในทางเดินหายใจและปอด ได้เป็นกรดไนตริก (HNO3) และกรดไนตรัส (HNO2) และเกิดอนุมูลอิสระ ส่งผลทำลายเซลล์ปอด ทำลายเยื่อบุทางเดินหายใจ เกิดภาวะหลอดลมอักเสบ และปอดอักเสบ (pneumonitis)
                   ไนโตรเจนไดออกไซด์ยังมีความสามารถในการจับกับฮีโมโกลบิน ได้ดีกว่าคาร์บอนมอนอกไซด์หลายพันเท่า เมื่อเข้าสู่กระแสโลหิตจะถูกเปลี่ยนเป็นเมทฮีโมโกลบิน (methemoglobin ) ไนไตรต์ (nitrite ) และไนเตรต (nitrate ) ซึ่งขัดขวางการขนส่งออกซิเจนไปสู่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย

  • อาการทางคลินิก
                   อาการเฉียบพลัน: ถ้าปริมาณปนเปื้อนในอากาศน้อย จะทำให้เกิดการระคายเคืองเยื่อบุทางเดินหายใจส่วนบนเพียงเล็กน้อย ส่วนในกรณีที่ปริมาณปนเปื้อนในอากาศมาก จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองทางเดินหายใจส่วนบน คือ แสบจมูก ไอ เจ็บคอ และมีอาการแสบตาร่วมด้วยได้
                   อาการสำคัญที่ต้องระวัง: การระคายเคืองทางเดินหายใจส่วนล่าง เกิดหลังจากหายใจนำสารนี้เข้าไปแล้วประมาณ 24 ชั่วโมง ทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมปอด (Pulmonary edema)  และร่างกายขาดออกซิเจนรุนแรงจนเสียชีวิตได้ ถ้ารักษาภาวะปอดบวมน้ำจนดีขึ้น อาจเกิดภาวะหลอดลมฝอยอุดกั้น (Bronchiolitis obliteran) จากการอักเสบเรื้อรังจนผังผืดในหลอดลมฝอย
                    อาการเรื้อรัง: ก่อให้เกิดโรคหอบหืด พังผืดในเนื้อปอด และถุงลมโป่งพองได้

 

2.ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur Dioxide,SO2)

  • ลักษณะทางกายภาพ
                  แก๊สไม่มีสี มีกลิ่นแสบฉุน
sulfer dioxide
  • คุณสมบัติก่อมะเร็ง
                   IARC = Group 3 (ไม่สามารถจัดกลุ่มได้ว่าเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์หรือไม่)
                   ACGIH Carcinogenicity = A4 (ไม่สามารถจัดกลุ่มว่าเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ได้)
  • ค่ามาตรฐานในสิ่งแวดล้อม 
                   EPA NAAQS: Primary standard = 0.03 ppm (annual arithmetic mean), 0.14 ppm (24-hour), Secondary standard = 0.5 ppm (1,300 ug/m3) (3-hour)
  • แหล่งที่มา
                   อุตสาหกรรมฟอกสีหนังและขนสัตว์ ฆ่าเชื้อโรคในการถนอมอาหาร หมักเบียร์และไวน์ อุตสาหกรรมไม้ โลหะหนัก และการทำแบตเตอรี่ลิเทียม
  • กลไกการก่อโรค 
                   ออกฤทธิ์ระคายเคืองระบบทางเดินหายใจ ทำให้เกิดอาการปอดอักเสบ และเกิดเป็นเนื้อเยื่อพังผืดของปอด ในการรับสัมผัสเป็นระยะเวลาต่อเนื่องยาวนานทำให้เกิด ภาวะหลอดลมอักเสบชนิดเรื้อรังได้
  • อาการทางคลินิก
                   อาการเฉียบพลัน: เข้าสู่ร่างกายทางการหายใจ หากได้รับเข้าไปปริมาณเล็กน้อยจะก่อให้เกิดอาการระคายเคืองต่อระบบหายใจ มีอาการไอมาก อาจมีภาวะปอดบวมน้ำตามมาได้ และออกฤทธิ์ระคายเคืองต่อเยื่อบุต่างๆ โดยเฉพาะดวงตา
                   อาการเรื้อรัง: ทำให้การดมกลิ่นเสียไป และทำลายหลอดลมและเนื้อเยื่อปอด เกิดภาวะหลอดลมอักเสบและปอดอักเสบเรื้อรัง

 

3.โอโซน (Ozone,O3)

  • ลักษณะทางกายภาพ
                   แก๊สสีฟ้าอ่อน มีกลิ่นคล้ายคลอรีน
Ozone Pollution
  • คุณสมบัติก่อมะเร็ง
                   IARC Group: N/A
                   ACGIH Carcinogenicity: N/A
  • ค่ามาตรฐานในสิ่งแวดล้อม
                   EPA NAAQS: Primary and secondary standard levels to 0.070 parts per million (ppm)
  • แหล่งที่มา
                   เกิดจากการทำปฎิกิริยาเคมีในบรรยากาศระหว่างสารมลพิษทางอากาศเช่น ไนโตรเจนไดออกไซด์ และสารอินทรีย์ระเหยง่าย โดยมีแสงแดดเป็นแหล่งพลังงาน
  • กลไกการก่อโรค
                   ออกฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อทางเดินหายใจหดตัว หายใจลำบาก และหายใจมีเสียงดังจากหลอดลมตีบ เกิดการอักเสบของเยื่อหุ้มปอด ปอดติดเชื้อได้ง่าย และหากได้รับการสัมผัสต่อเนื่องและยาวนานจะทำให้เกิดโรคถุงลมโป่งพองได้
  • อาการทางคลินิก
                   อาการเฉียบพลัน: เข้าสู่ทางกายทางการหายใจ ทำให้เกิดการระคายเคืองคอ เจ็บคอ และไอมาก ในเด็กเล็กส่งผลให้พัฒนาการปอดผิดปกติ กระตุ้นการเกิดภาวะหอบหืดเฉียบพลัน หลอดลมอักเสบ และถุงลมโป่งพอง
                   อาการเรื้อรัง: เกิดการอักเสบเรื้อรัง ทำให้เกิดโรคหอบหืด ถุงลมโป่งพอง และอาจทำให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร

 

4.คาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon monoxide,CO)

  • ลักษณะทางกายภาพ
                   แก๊สไม่มีสี ไม่มีกลิ่น
Carbon Monoxide
  • คุณสมบัติก่อมะเร็ง
                   IARC Group: N/A (ไม่ได้ทำการประเมิน)
                   ACGIH Carcinogenicity: N/A (ไม่ได้ทำการประเมิน)
  • ค่ามาตรฐานในสิ่งแวดล้อม
                   EPA NAAQS: 9 ppm (8 hours), 35 ppm (1 hour)
  • แหล่งที่พบในธรรมชาติ
                   ควันบุหรี่ และควันไฟไหม้ป่าที่เกิดจากการเผาไหม้สารอินทรีย์อย่างไม่สมบูรณ์
                   อุตสาหกรรมที่สังเคราะห์ทางอินทรีย์ของผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
                   ควันรถยนต์ รถจักรยานยนต์เครื่องยนต์และเครื่องจักรที่เกิดการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์
  • กลไกการก่อโรค
                   คาร์บอนมอนอกไซด์จะจับกับสารที่อยู่ในเม็ดเลือดแดงที่มีชื่อว่า Hemoglobin (Hb) ทำให้เกิดสารประกอบ Carboxyhemoglobin
                       คาร์บอนมอนอกไซด์สามารถจับกับ Hemoglobin ได้ดีกว่า Oxygen 200 – 300 เท่า) ซึ่งจะมีผลทำให้การนำพา Oxygen ไปสู่เนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกายลดลง
  • อาการทางคลินิก
                  อาการเฉียบพลัน: หากได้รับคาร์บอนมอนอกไซด์จากการหายใจในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง จะทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ กระสับกระส่าย สับสน การมองเห็นผิดปกติ ความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นเร็ว และมีการหายใจที่เร็วขึ้น กรณีได้รับเป็นปริมาณมากๆ จะทำให้เกิดภาวะหมดสติ ชัก ภาวะช็อก กดการหายใจรวมทั้งระบบหัวใจและหลอดเลือด ภาวะสมองบวม และอาจเสียชีวิตได้ ถ้าหากไม่เสียชีวิตหลังจากที่ได้รับคาร์บอนมอนอกไซด์ปริมาณมากๆ แล้วก็มักจะเกิดภาวะแทรกซ้อนของระบบประสาทตามมา เช่น ภาวะหลงลืม (dementia) จิตเภท การเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ ภาวะอารมณ์ผิดปกติ บุคลิกภาพที่เปลี่ยนไป
                  อาการเรื้อรัง: การได้รับคาร์บอนมอนอกไซด์ในปริมาณต่ำๆ เป็นระยะเวลานานจะทำให้มีอาการอาเจียน ถ่ายเหลว ปวดท้อง ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ ใจสั่นได้ ซึ่งเป็นอาการที่ไม่เฉพาะเจาะจง แยกได้ยากจากภาวะอาหารเป็นพิษหรือการติดเชื้อไวรัส

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้