ดัชนีคุณภาพอากาศ(AQI) คือ การรายงานข้อมูลคุณภาพและสถานการณ์มลพิษทางอากาศต่อสาธารชนในแต่ละพื้น โดยจะรายงานคุณภาพอากาศว่าอยู่ในระดับใด มีผลกระทบต่อสุขภาพหรือไม่ และควรปฎิบัติตัวอย่างไร เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบต่อสุขภาพ ในรูปแบบที่ง่ายเข้าใจได้ง่ายสำหรับประชาชนทั่วไป
ดัชนีคุณภาพอากาศ(AQI) เป็นรูปแบบสากลที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในหลายประเทศ แต่อาจจะมีชื่อเรียกแตกต่างกัน การวัดดัชนีคุณภาพอากาศได้จากคำนวณปริมาณสารมลพิษทางอากาศ 5 ชนิด ได้แก่
- ก๊าซโอโซน (O3) เฉลี่ย 1 ชั่วโมง
- ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) เฉลี่ย 1 ชั่วโมง
- ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) เฉลี่ย 8 ชั่วโมง
- ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) เฉลี่ย 24 ชั่วโมง
- ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM10) เฉลี่ย 24 ชั่วโมง
- ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM2.5) เฉลี่ย 24 ชั่วโมง
การรายงานคุณภาพอากาศ (Air Quality Reporting) ปัจจุบันจะไม่ใช้ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงด้วยเหตุผลหลายประการ คือ
- ระดับมลพิษทางอากาศเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ตัวอย่างเช่น หมอกควันพิษข้ามพรมแดนในภาคใต้จากการเกิดไฟในพื้นที่ป่าพรุที่ถูกทำลายจากอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันและเยื่อกระดาษในอินโดนีเซีย กระแสลมพัดขึ้นทางทิศเหนือส่งผลให้ดัชนีคุณภาพอากาศในภาคใต้เพิ่มจาก 50 เป็นมากกว่า 150 ในเพียงระยะเวลา 1 ชั่วโมง การรายงานที่ทันต่อเหตุการณ์จะช่วยให้ประชาชนสามารถดูแลปกป้องตัวเองได้อย่างทันท่วงที โดยเฉพาะกลุ่มคนมีปัญหาสุขภาพ เด็ก และคนชรา
- กระแสลมเป็นปัจจัยที่มีส่วนสำคัญที่ส่งผลให้ความเข้มข้นของมลพิษเพิ่มขึ้นหรือลดลง ล่าสุดที่กทม. มีปัญหาค่ามลพิษทางอากาศสูงมากขึ้นจากกระแสลมหยุดไหล กระแสลมนั้นมีการเปลี่ยนแปลงทั้งวัน ดังนั้นการรายงานดัชนีคุณภาพก็จะเปลี่ยนแปลงไปตามนั้นด้วย
ดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทยแบ่งเป็น 6 ระดับ คือ ตั้งแต่ 0 ถึง มากกว่า 300 ซึ่งแต่ละระดับจะใช้สีเป็นสัญลักษณ์เปรียบเทียบระดับของผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย
หากดัชนีคุณภาพอากาศมีค่าสูงเกินกว่า 50 แสดงว่าค่าความเข้มข้นของมลพิษทางอากาศมีค่าเกินมาตรฐานและคุณภาพอากาศในวันนั้นจะเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน